23 พฤศจิกายน 2554




อากง” หรือ นายอำพล (ขอสงวนนามสกุล) ถูกจับเมื่อกลางปี2553 หลังเหตุการณ์การชุมนุมของเสื้อแดงได้ไม่นาน เป็นคดีผลงานคดีเดียวที่ตำรวจไล่จับตามที่อ้างว่าพวกเสื้อแดงมีขบวนการหมิ่นฯ ล้มล้างสถาบันฯ และออกแถลงข่าวใหญ่โต ข้อหาคือการส่งSMS เข้ามือถือเลขาฯนายกรัฐมนตรี เป็นข้อความผิดกฎหมาย 4 ข้อความ ซึ่งแอบดูมาเห็นว่าหนักทีเดียว เป็นข้อความที่แรงและหยาบคายที่สุดสำหรับการฟ้องร้องคดีหมิ่นฯ ทั้งในยุคนี้และยุคก่อน


หลังอัยการส่งฟ้อง ศาลอ่านข้อความที่ถูกฟ้องแล้วคงรู้สึกไม่ต่างจากคนไทยหลายต่อหลายคนจึงสั่งไม่ให้ประกันตัว อากงนอนอยู่ในห้องขังเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ รวมแล้วเกือบหนึ่งปี ก่อนจะได้รับการพิจารณาความถูกผิด และในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนกันยายน 2554 สายตาจำนวนมากก็จดจ้องมาที่บัลลังก์พิจารณาคดีของศาลอาญา
ตามบันทึกการประชุม ในฐานะสมาชิกเครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนผมอยู่ในคดีนี้

30 กันยายน 2554 ห้องพิจารณาคดี 801 ศาลอาญารัชดา เวลา 9.00 น. เป็นวันที่อากงจะขึ้นเบิกความต่อศาลเอง หลังจากที่พยานหลักฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีและกระบวนการสืบสวนที่อากงฟังไม่เข้าใจได้ถูกนำสืบไปหมดแล้ว


ผมไม่ได้ทำครับ” อากงเงยหน้ามองศาล พูดอย่างฉะฉาน
ทนายความถามว่าเบอร์โทรศัพท์ของเลขาฯนายกนี้อากงรู้ไหมว่าเป็นเบอร์ของใคร
ผมไม่รู้ครับ” อากงตอบฉะฉานเช่นเดิม
แล้วทนายก็มีคำถามที่เราไม่ได้เตรียมร่วมกันมาก่อน โดยเอาข้อความที่ถูกฟ้อง ซึ่งเป็นถ้อยคำหยาบคายมาเปิดให้แกดู ทนายพูนสุข ถามอากงว่า พยานเห็นข้อความนี้แล้วรู้สึกอย่างไร
อากงตอบไม่ฉะฉานแล้ว เสียงแกสั่นเครือ ผมเสียใจมากครับ ... ก็เค้าด่าในหลวง” มองจากข้างหลังเห็นคอแกแดงก่ำ แกร้องไห้ นาทีนั้นทั้งห้องเงียบกริบ
ทนายบอกว่า ใจเย็นๆ ค่ะ แล้วพยานมีความรู้สึกอย่างไรต่อในหลวงคะ?
ผมรักในหลวงครับ” อากงยังร้องไห้อยู่ ตอบเต็มปากเต็มคำอย่างช้าๆ

หลังจากนั้นอากงยังเล่าให้ศาลฟังว่า ตอนในหลวงป่วยก็ไปเยี่ยมที่ศิริราช เคยไปลงนามถวายพระพร ไปร่วมงานเฉลิม และ งานที่วางดอกไม้จันทร์ ผมก็ไป” อากงเสียใจมากที่ถูกฟ้องคดีนี้เพราะอากงรักในหลวง ตลอดการกล่าวถึงประวัติของแกกับสถาบันฯ คนแก่อายุ 61 ยังคงร้องไห้ต่อหน้าบัลลังก์ศาลและต่อหน้าทุกคน ถ้าอากงกำลังโกหก นักแสดง
ฮอลลีวู้ดรางวัลออสการ์คงต้องกลับมาให้อากงสอนใหม่


ปริศนาของคดีนี้ยังไม่มีใครรู้ความจริง ใครเป็นคนส่งข้อความส่งทำไมและทำไมหลักฐานถึงโยงมาว่าเป็นอากงทนายความได้ใช้ความเป็นมนุษย์เข้าต่อสู้กับหลักฐานทางคอมพิวเตอร์อย่างดีที่สุดแล้ว มีคนคนเดียวที่รู้คำตอบนี้นั่นคือ ตัวอากงเอง และวันนี้อากงได้ใช้โอกาสเดียวที่มีบอกความจริงกับโลกแล้ว

อ่านบทความเต็มๆได้ที่นี่ http://www.go6tv.com/2011/11/sms-20.html

27 กันยายน 2554

กลุ่มกิจกรรม ยื่นหนังสือสถานทูตอเมริกา ร้องคืนอิสรภาพให้ Mr.Joe W. Gordon










จดหมายตอบรับจากสถานทูตอเมริกา
จดหมายลายมือของ จอหน์ กอร์ดอน เขียนถึง ประธานาธิบดี โอบามาร์




เรียน ท่านเอกอักคราชทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย
สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2554 ที่ผ่านมา รัฐไทยบุกเข้าจับกุมตัวMr.Joe W. Gordon พลเมืองชาวอเมริกัน ที่บ้านพักในจังหวัดนครราชสีมา ด้วยข้อกล่าวมาตรา 112 คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพฯ(Les Majeste Law) โดยกล่าวหาว่า Mr.Joe คือนาย สิน แซ่จิ้ว ผู้แปลหนังสือ The King Never Smilesเป็นภาษาไทย ซึ่งหนังสือดังกล่าวเป็นหนังสือประกอบการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยYale University และศาลไทยได้คัดค้านการประกันตัวมาโดยตลอด ในระหว่างที่ยังมิได้มีการพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ
ซึ่งต่อมา ในวันที่ 17 สิงหาคม ที่ผ่านมา ศาลอาญารัชดา รับฟ้องคดี Mr.Joe W. Gordon ซึ่งส่งผลให้ในอีก 3 วันต่อมา สถานเอกอัครราชทูตทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยแถลงผ่านเว็บไซต์ของสถานทูต (bangkok.usembassy.gov) ในถ้อยแถลงที่ใช้ชื่อว่า "Embassy Statement on U.S. Citizen Joe Gordon" โดยกล่าวแสดงความผิดหวังที่อัยการดำเนินการฟ้องพลเมืองอเมริกันในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
โดยในแถลงการณ์ฉบับดังกล่าวระบุว่า "สหรัฐอเมริการู้สึกผิดหวังต่อการตัดสินใจของอัยการไทย ที่ดำเนินการฟ้อง Mr.Joe W. Gordon พลเมืองสหรัฐอเมริกา ในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ทางการสหรัฐได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเจ้าหน้าที่ทางการของไทยอย่างครอบคลุม เกี่ยวกับคดีของนายกอร์ดอน โดยย้ำถึงโอกาสและความเป็นไปได้ของเขาในการใช้สิทธิในฐานะพลเมืองอเมริกัน"
และในแถลงการณ์ฉบับนั้นยังระบุย้ำว่า "เราขอเรียกร้องให้ทางการไทยให้ความมั่นใจว่า เสรีภาพในการแสดงความเห็นเป็นสิ่งที่ควรได้รับการเคารพ และนายกอร์ดอน ในฐานะพลเมืองสหรัฐฯจะได้รับการปฏิบัติที่เป็นธรรม"
แต่กระนั้น ผ่านเวลามากว่า 5 สัปดาห์ ทางรัฐบาลไทยก็มิได้มีความเคลื่อนไหวใดๆต่อข้อเรียกร้องดังกล่าวของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา และจนถึงวันนี้ Mr.Joe W. Gordon ก็ยังถูกกักขังอยู่อย่างยากลำบากในเรือนจำพิเศษกรุงเทพ
ในนามกลุ่มนักกิจกรรมทางสังคมด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยจึงรวมตัวกันและต้องการยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลสหรัฐอเมริกาและพลเมืองชาวอเมริกันทุกๆคน ดังนี้
1.ขอเรียกร้องให้รัฐบาลสหรัฐอเมริกาเข้ามาให้การช่วยเหลือ Mr.Joe W. Gordon อย่างเร่งด่วนเพื่อให้ได้รับการปล่อยตัวโดยเร็วที่สุด ในฐานะพลเมืองแห่งสหรัฐอเมริกาที่ถูกจับกุมคุมขัง โดยการบังคับใช้ที่มีปัญหาในการละเมิดสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชน ทั้งการบังคับใช้โดยเจ้าหน้าที่รัฐ และมีปัญหาที่ตัวบทกฎหมายเอง ในกฎหมายอาญามาตรา 112 คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ(Les Majeste Law) เราขอเรียกร้องให้รัฐบาลสหรัฐอเมริกาตระหนักถึงและให้ความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน เพื่อคืนอิสระภาพให้กับMr.Joe W. Gordon พลเมืองของท่าน
2.ในโอกาสที่ประธานาธิปดีบารัค โอบาม่า แห่งสหรัฐอเมริกา มีกำหนดการจะได้พบปะกับนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ของไทยในเร็ววันนี้ เราขอเรียกร้องให้รัฐบาลสหรัฐอเมริกานำประเด็นปัญหากรณีการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนของกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ มาตรา 112 เข้าร่วมหารือกับนายกรัฐมนตรีของไทยเป็นประเด็นลำดับต้นๆ เพื่อหาทางออกร่วมกันบนพื้นฐานแห่งการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของพลเมืองทั้งสองประเทศที่จำเป็นต้องธำรงค์รักษาเอาไว้ซึ่งกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในประเทศไทยกำลังเป้นประเด็นถกเถียงอย่างกว้างขวางทั้งในประเทศและสากลโลก ในเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของพลเมือง
3.เรียกร้องให้รัฐบาลสหรัฐอเมริกาแสดงท่าทีที่ชัดเจนต่อกระบวนการยุติธรรมของไทย ในกรณีที่ศาลสั่งฟ้องและคัดค้านการประกันตัว Mr.Joe W. Gordon ที่ถูกคุมขังอยู่ มาโดยตลอดโดยที่ยังมิได้มีการพิสูจน์หลักฐานใดๆว่า Mr.Joe W. Gordon ได้กระทำความผิดจริงตามที่ศาลกล่าวอ้าง ซึ่งในเรื่องนี้ถือเป็นการขัดต่อหลักกฎหมายสากลในประเทศที่ขึ้นชื่อว่าเป็นระบอบเสรีประชาธิปไตยอย่างร้ายแรง ที่ตามหลักสากลต้องคำนึงเอาไว้เสมอว่าไม่ว่าในคดีใดๆในโลกผู้ถูกกล่าวหานั้น ย่อมถือว่ายังเป็นผู้บริสุทธิ์เสมอ ตราบเท่าที่ยังมิสามารถพิสูจน์ได้ว่าเขาเหล่านั้นได้กระทำความผิดจริง แต่รัฐไทยกลับปฏิบัติกับ"ผู้บริสุทธิ์" ไม่ต่างจาก "นักโทษ" ผู้กระทำความผิดที่สำเร็จโทษแล้ว
เราจึงจำเป็นต้องมาเรียกร้องต่อท่าน เพื่อคืนความเป็นธรรมให้กับ Mr.Joe W. Gordon โดยเร็วที่สุด โดยรัฐบาลอเมริกาควรช่วยเหลือให้พลเมืองของท่านได้รับสิทธิการประกันตัว ซึ่งถือว่าเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ถูกกล่าวหา และขอให้รัฐบาลอเมริกาช่วยดำเนินการในการประกันตัว Mr.Joe W. Gordon ต่อศาลให้อย่างเร่งด่วนในทันที
ทั้งนี้ได้แนบสำเนาจดหมายที่เขียนด้วยลายมือของ Mr.Joe W. Gordon จากเรือนจำพิเศษกรุงเทพ เขียนถึงท่านประธานาธิบดีบารัค โอบาม่า แห่งสหรัฐอเมริกา เพื่อให้ทางสถานทูตฯได้ช่วยนำจดหมายฉบับนี้ไปส่งมอบให้ถึงมือของประธานาธิปดีโอบาม่า
แด่เสรีภาพของมนุษยชาติทั้งปวง
เครือข่ายนักกิจกรรมทางสังคมเพื่อประชาธิปไตย
27 กันยายน 2554 ณ หน้าสถานทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย
Dear U.S. Ambassador to Thailand,
On May 25, 2011, Thai officers arrested Mr. Joe W. Gordon, a U.S. citizen, in his residence in Nakornrajsima, under the charge of Lese Majeste Law. Mr. Gordon was accused of translating “The King Never Smiles”, a text book used in Yale University, into Thai, under the pseudonym “Nai Sin Sae-Jiw”. Thai court has been objecting to bail while no relevant fact has been proved.
On August 17, 2011, Thai Criminal Court accepted the charge of Mr. Gordon, and consequently, United States Embassy in Thailand published an official statement titled "Embassy Statement on U.S. Citizen Joe Gordon" on its official website (bangkok.usembassy.gov) three days later. It is stated “The United States of America is disappointed that Thai prosecutor has decided to sue Mr. Joe W. Gordon, a U.S. citizen, under the charge of Lese Majeste Law. U.S. administrators has extensively discussed with Thai administrators about the case, especially on Mr. Gordon’s possibility to maintain his rights as a U.S. citizen.” The statement also says “We entreat that Thai official ensure that the right to freedom of speech and expression is to be respected and that Mr. Gordon will be treated righteously.”
However, Thai Government has not made any response to this request in the past five months, and Mr. Joe W. Gordon is still improperly confined in Bangkok Remand Prison.
On behalf human rights activist group in Thailand, we have come together and have callings for United States government as well as to every American citizens.
1. We demand the United States government to urgently assist Mr.Joe W. Gordon, a U.S. citizen, to receive a release as soon as possible. The article 112 of criminal code or Les Majeste Law is clearly problematic in terms of both enforcement by the state officials and its content that violates human rights and freedom of speeches. We demand the United States government to consider about this seriously and intervene with no delay to give back freedom to Mr.Joe W. Gordon, your citizen.
2. In occasion that Mr. President Barak Obama of the United States will soon meet with Prime minister Yingluk Shinawatra of Thailand, we demand the United States government to raise the issue of human rights and freedom violation by the article 112 Les Majeste law to discuss with the Thai Prime Minister as the first priority. In order to seek for solutions on a basis to protect rights and liberty of both country's citizens, Lese Majeste law in Thailand that is being a controversial issue both in Thailand and internationally must be discussed.
3.We demand the United States government to clarify its position towards Thai judicial system after it has rejected a right to receive bail of Mr.Joe W. Gordon who is being imprisoned all these times without proofs that he really committed a crime as the court claims. This is absolutely contrasting to the legal principle of a liberal democratic country which suggests that in any cases, the accused must be always considered as "not-guilty" until there is enough proof that the accused really committed a crime. Conversely, the Thai state always acts towards the "non-guilty" persons as if they are already "guilty".
These are reasons that we come to raise our demand to you, to bring back justice to Mr.Joe W. Gordon with no delay. The United States government should assist in order to ensure rights to bail for your citizen. United States government should also help proceeding with bail process to Thai court immediately.
We also attach a letter written by Mr.Joe W. Gordon from Bangkok Prison, addressed to Mr.President Barack Obama of the United States for the U.S. embassy to pass it to Mr. President, in which your assistance would be very much appreciated.
To Liberties of all Humanity,
Activists for Democracy Network
September 27, 2011
In front of US embassy, Bangkok.





25 กันยายน 2554

go6: "เจ๊ดา" ชีวิตที่เหลืออยู่เพื่อประชาธิปไตย

go6: "เจ๊ดา" ชีวิตที่เหลืออยู่เพื่อประชาธิปไตย


ขอบคุณเวบ GO6 ครับ
ในวันอังคารที่  4  ตุลาคม  2554 จะมีการเริ่มการแสดงละคร    "แขวนคอ"    จากกลุ่มประกายไฟการละครเพื่อนำเสนอหนึ่งในชนวนเหตุในอดีต 


วันพุธที่  5  ตุลาคม  2554 ที่หอประชุมใหญ่ธรรมศาสตร์  เวลา 14.00 น.  จะมีการแสดงละครเรื่อง    "แค้น"    ซึ่งเคยนำมาแสดงในช่วงปี  2516  และ  2519    การเสวนา     "จากพ่อจารุพงษ์ ถึง แม่น้องเกด"     ดำเนินรายการโดย นายสมบัติ บุญงามอนงค์  และในช่วงค่ำจะมีการแสดง คอนเสิร์ต " รำลึกวีรชนเดือนตุลา "

ส่วนในวันพฤหัสที่  6  ตุลาคม  2554 จะมีการจัดงานใหญ่ที่ สวนประติมากรรมประวัติศาสตร์ หน้าหอประชุมใหญ่ มธ. เริ่มจากละครสะท้อนความจริงเหตุการณ์เช้ามืดวันที่  6  ตุลา  2519    "ก่อนอรุณจะร่วง"    ในเวลา  05.00  น. ( ตีห้า )



จากนั้นเวลา  07.00 น.  เป็นพิธีตักบาตรพระสงฆ์  36  รูป พิธีวางพวงมาลา ณ ประติมานุสรณ์  6  ตุลาคม 2519 และกล่าวสดุดี การอ่านบทกวีและนาฏลีลารำลึก  การปาฐกถาพิเศษ โดย ผศ.ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ ( อาจารย์ยิ้ม )


รวมทั้งการเสวนาและอภิปราย ขณะที่วันที่  1-14  ตุลาคม  2554 จะมีนิทรรศการภาพจิตรกรรมการเมือง ณ หอสมุดปรีดี พนมยงค์ ( ชมภาพที่ไม่เคยเปิดเผยมาก่อน 25 ภาพ ) และในวันที่  2-9  ตุลาคม  2554 จะมีงานสัปดาห์ตุลารำลึก ที่บริเวณลานโพธิ์ถึงประตูท่าพระจันทร์.เนื้อข่าวโดย: สำนักข่าวไทย



''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''

21 กันยายน 2554


คลิปฉบับเต็ม ชมได้ที่ หน้ากิจกรรมเดือน กันยายน

หรือสนใจสั่งซื้อ ติดต่อได้ที่ บ้านวันอาทิตย์สีแดง ชั้น 6 อิมฯลาดพร้าว

0  2 - 9  3  4 - 9  6  6  9


คลิปย่อย่อของงานแกนนอนเอ็กซ์โป

19 กันยายน 2554



บก.ลายจุด ปราศรัย บน เวที ชุมนุมครบรอบ 5 ปี ต้านรัฐประหาร

วันอาทิตย์ที่  18  กันยายน  2554

13 กันยายน 2554



คุณเบิร์น ฝรั่งเสื้อแดง ได้ถึงแก่กรรมกระทันหัน 
จะทำพิธีแบบไทย ที่วัดกลางบางพลี 
เริ่มตั้งแต่วันพุธที่ 14 เวลา 16.00 น.





ภาพถ่ายวันสลายการชุมนุมที่เป็นหลักฐานถึง
เหตุไฟไหม้เซนทรัลเวิร์ล 

ที่ลงใน หนังสือ โลกวันนี้ ฉบับ ใครเผาเซนทรัลเวิร์ล 

เป็นฝีมือของเขาครับ ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้ง
มา ณ ที่นี้ด้วย





12 กันยายน 2554

2 กันยายน 2554


คุณณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ ได้เข้าเยี่ยมคุณหรั่งที่บ้าน 

คุณหรั่ง  "พรหมมินทร์ เก็มกาแมน" นักสู้นิรนาม
ที่ต้องเผชิญกับมะเร็งทางเดินหายใจระยะสุดท้าย
จากอุบัติเหตุในการสลายการชุมนุม วันที่ 10 เมษา 53
ได้เสียชีวิตลงแล้ว โดยสงบ เมื่อเวลา 16.30 น.
ตั้งศพสวดพระอภิธรรม
วันศุกร์ที่ 2 ก.ย.54 เวลา 19.30 น. บ้านคุณหรั่ง 18/1001 หมู่ที่ 2 ต.บึงยี่โถ อ.ธัญญะจ.ปทุมธานี
(รังสิต-นครนายก ซอย 30)
วันเสาร์ที่ 3 ก.ย.54 เวลา 19.30 น. วัดเขียนเขต
วันอาทิตย์ที่ 4 ก.ย.54 เวลา 19.30 น. วัดเขียนเขต
ประชุมเพลิง วันจันทร์ที่ 5 ก.ย.54 เวลา 17.00 น.
ณ วัดเขียนเขต ติดถนนรังสิต-นครนายก อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี

****เรียนมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน****

29 สิงหาคม 2554

Yingluck Denies Podjaman Pushing For Top Cop Transfer

Yingluck Shinawatra dismissed allegations Khunying Podjaman na Pompet had pressed for a transfer of police chief Pol Gen Wichian Podbhosri.

The prime minister said Khunying Podjaman, 

ex-spouse of former premier Thaksin Shinawatra, 
had by no means interfered in the businesses of the government or pushed for the transfer of any military or police leader as rumored.

Ms Yingluck apparently downplayed speculation Pol Gen Wichian 
might be transferred and replaced by deputy police chief Pol Gen Preawpand Damapong, brother of Khunying Podjaman's.

The woman leader did not either confirm or deny if Pol Gen Wichian 
might probably be transferred if he failed to get rid of gambling dens in Bangkok following the sensational exposure of one in Sutisarn area by opposition MP Chuvit Kamonvisit in parliament.

The police chief also dismissed hearsay he would sooner or later rPoesign 
under pressure from the ruling Puea Thai Party who allegedly looked to have him transferred. He said he had met his job descriptions and fared for the interests of the country.

Produced by VoiceTV

10 สิงหาคม 2554

นายกรัฐมนตรี ระบุหน้าตาครม ไม่สำคัญเท่าผลงานที่จะออกมา


๓ ปีที่จองจำ ๓ ปีที่ฝึกฝนอีกคนเสื้อแดง : แนนซี่ “แต๋วประชาธิปไตย”

“หนูไม่ได้เป็นตุ๊ดเป็นแต๋วทั่วไป  หนูเป็นแต๋วเพื่อประชาธิปไตย”
นี่คือคำยืนยันของนายไพรวัลย์  สุธงษา  หรือ “แนนซี่” ที่หลายคนรู้จัก
วันนี้ (8 สิงหาคม 2554) เวลา ๐๘.๓๐ น. ประตูอิสระภาพได้เปิิดต้อนรับเธออีกครั้ง หลังจากถูกจองจำมากว่าสองปีเศษ  เขาเป็นนักโทษชั้นเยี่ยมจึงถูกปล่อยตัวออกมาก่อนกำหนดด้วยการลดโทษตามระเบียบของราชฑัณท์


แนนซี่ ในวัย ๔๐ ปีของวันนี้ยังดูสดใส ร่าเริง และแววตาเปี่ยมล้นด้วยความหวัง เธอเป็นคนเสื้อแดงในยุคแรกๆ ซึ่งเดิมเคยทำงานประจำหลายที่ แต่สุดท้ายก็ออกจากงานมาร่วมชุมนุมกับ “คาราวานคนจน” ที่สวนจตุจักร ตั้งแต่วันแรกจนถึงวันสุดท้าย   


เธอเป็นผู้ที่มีความนิยมในตัวนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ประเภท “แฟนพันธุ์แท้” ก็ว่าได้ แน่นอนว่าเหตุการณ์การรัฐประหารในปี ๒๕๔๙ เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญยิ่งของเธอและพลิกผันเธอมาเป็น “แต๋วเพื่อประชาธิปไตย”ในวันนี้ 


แนนซี่ ถูกจับเมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๒ และถูกตั้งข้อหาครอบครองวัตถุระเบิด ในชั้นสอบสวนและในชั้นศาล เธอให้การว่า ได้ล่อซื้อมาจากแม่ค้าคนนึงเพื่อจะนำไปมอบคืนให้แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ แต่โดนจับกุมและถูกกล่าวว่าครอบครองวัตถุระเบิด เธอรับสารภาพเพื่อให้ได้รับอิสระภาพที่เร็วขึ้น


“ตั้งแต่เข้ามาที่นี่ หนูก็ต้องต่อสู้กับหลายๆอย่าง ทั้งจิตใจตัวเองและสภาพแวดล้อม ที่นี่มีกฎระเบียบที่เข้มงวด เช่น หากมีเรื่องกันก็จะถูกลงโทษอย่างหนัก หนูไม่มีปัญหา ไม่มีใครกล้ามาทำร้ายหนู หนูวิดพื้นมือเดียวได้แบบ พวกที่ลายเต็มตัวต้องเรียกพี่ พวกนั้นไม่กล้ามาเล่นหนู ไม่มีใครกล้ามารังแกเพราะมันกลัวหนูเตะ (หัวเราะ)ในนี้หนูเป็นหัวหน้าคุมงานโยธา และได้ดูแลเพื่อนเสื้อแดงอีกหลายคน หากใครมีปัญหาต้องเจอหนู หนูไม่ได้เป็นตุ๊ดเป็นแต๋วประเภทไร้สาระ หนูเป็นแต๋วเพื่อประชาธิปไตย” แนนซี่กล่าว


เราจากกันด้วยการบันทึกภาพของพี่น้องเสื้อแดงที่มารอต้อนรับอย่างชื่นมื่น สำนักราษฎรประสงค์ ได้มอบเงินเป็นขวัญถุงสำหรับเป็นค่าเดินทางกลับบ้าน และเริ่มต้นชีวิตใหม่ จำนวน ๓,๐๐๐ บาท ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่เพิ่งได้รับบริจาคมาในงาน “มิดติ้งประชาทอร์ค” และมีพี่ๆที่มารอรับช่วยกันควักเป็นกำลังใจให้แนนซี่ รวมได้เป็นเงินทั้งสิ้น ๗,๕๐๐บาท


"หนูออกมาแล้ว และจะกลับมาสู้กับคนเสื้อแดงเหมือนเดิมไม่มีเปลี่ยนแปลง จนกว่าเราจะได้ประชาธิปไตยที่แท้จริง” แนนซี่ กล่าวก่อนลาจากกัน
: สำนักกฎหมายราษฎรประสงค์

9 สิงหาคม 2554

เปิดโผฉบับล่าสุด ครม.ยิ่งลักษณ์"กิตติรัตน์"พาณิชย์ควบรองนายกเศรษฐกิจ"ธีระชัย"รมว.คลัง มี'วิรุฬ-บุญทรง'รมช.คลัง



มีรายงานจากพรรคเพื่อไทยถึงโผคณะรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ 1 ล่าสุดที่ได้มีการนำขึ้นทูลเกล้าฯ ไปแล้ว โดยมีดังนี้ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง และ พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายชูชาติ หาญสวัสดิ์ และนายฐานิสร์ เทียนทอง ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย

นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายภูมิ สาระผล และนายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายชุมพล ศิลปอาชา ดำรงตำแหน่ง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา นพ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ และนายนิวัตธำรง บุญทรงไพศาล ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
       
       พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ และนายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก และนายกิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม

นายสุรพงษ์ โตวิจักข์ชัยกุล ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายพิชัย นริพทะพันธ์ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นางบุญรื่น ศรีธเรศ และนายสุรพงษ์ อึ้งอำพรวิไล ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายวิทยา บูรณศิริ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
       
นายแพทย์วรรณรัตน์ ชาญนุกูล ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายอนุดิษฐ์ นาครทรรพ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นางสุกุมล คุณปลื้ม ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม นายสันติ พร้อมพัฒน์ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นายธีระ วงศ์สมุทร ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

นายพรศักดิ์ เจริญประเสริฐ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายปลอดประสพ สุรัสวดี ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

8 สิงหาคม 2554

รับสนองพระบรมราชโองการ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี


นายพิฑูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร อัญเชิญพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ 28 เดินทางมาถึงพรรคเพื่อไทย ซึ่งอัญเชิญไปที่ชั้น 7 ซึ่งมีการจัดเตรียมสถานที่ในการรับสนองพระบรมราชโองการฯ 
จากนั้น เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้อ่านพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี คนที่ 28 ความว่า 

"พระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี พระปรมาภิไธยภูมิพลอดุลยเดช (ปร.) พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศว่า 

โดยที่ได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญแล้ว คณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ต้องพ้นจากตำแหน่ง และประธานสภาผู้แทนราษฎรได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติ เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2554 เห็นชอบด้วยในการแต่งตั้ง นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่ง ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร จึงทรงพระราชดำริว่า นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นผู้ที่สมควรไว้วางพระราชหฤทัยให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 171 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีบริหารราชการแผ่นดิน ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป" 

ประกาศ ณ วันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ.2554 เป็นปีที่ 66 ในรัชกาลปัจจุบัน 

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์
ประธานสภาผู้แทนราษฎร

ภายหลังเสร็จสิ้นพิธีแล้ว นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี คนที่ 28 เปิดใจว่ารู้สึกปลาบปลื้มในพระมหากรุณาธิคุณ ทรงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีหญิง โดยจะมุ่งมั่นทำงานเต็มที่ และขออุทิศตนทำงานเพื่อตอบแทนทดแทนบุญคุณแผ่นดิน โดยเฉพาะในวโรกาสครบรอบ 84 พรรษา เดือนธันวาคม และ 12 สิงหาคม โดยขอให้ทุกคนร่วมใจกันแสดงออกถึงความจงรักภักดี นอกจากนี้ยืนยันว่า จะทำหน้าที่อย่างเต็มที่โดยจะไม่เลือกปฏิบัติ และจะเป็นนายกรัฐมนตรีของทุกคน

6 สิงหาคม 2554

ตามรอยสุสานพระเจ้าตากที่ประเทศจีน

เรามาผ่อนคลายเรื่องราวทางการเมืองที่บ้าๆบอๆของประเทศไทย หันไปรับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์บางเรื่องราวที่ไม่ใคร่ได้มีโอกาสได้รับรู้เพราะมีใครหลายคนไม่อยากให้รับรู้หรือไม่มิทราบได้

ว่าไปแล้วเรื่องที่จะนำเสนอต่อไปนี้ก็เป็นที่เปิดเผยมาในระดับหนึ่งแล้ว แต่ไม่ค่อยได้รับความสนใจหรือใส่ใจมากนักจากผู้รู้ทั้งหลายในประเทศนี้ คงมีแต่ชาวบ้านธรรมดาทั้งไทยและจีนที่ยังคงให้ความเคารพเลื่อมใสและรำลึกนึกถึงคุณงามความดีที่ท่านได้มีไว้ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่
สุสานพระเจ้าตาก
เถ่งไฮ่เป็นอำเภอเล็กๆ แห่งหนึ่งในเมืองแต้จิ๋ว มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน มีประชากรประมาณ ๗๑๐,๐๐๐ คน ปัจจุบันเถ่งไฮ่เป็นเขตอุตสาหกรรมสำคัญแห่งหนึ่ง ตุ๊กตาต่างๆ จากบริษัทผลิตของเล่นชื่อดังของโลกไม่ว่าจะเป็นตุ๊กตาบาร์บี้หรือตุ๊กตาของวอลต์ดีสนีย์ที่ส่งไปขายทั่วโลก ผลิตมาจากโรงงานในอำเภอเถ่งไฮ่แทบทั้งสิ้น

คนไทยส่วนใหญ่อาจไม่รู้จักอำเภอเล็กๆ อย่างเถ่งไฮ่ แต่สำหรับลูกหลานชาวจีนที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองไทย น่าจะคุ้นหูกับชื่อนี้ดี

คนจีนที่อพยพข้ามน้ำข้ามทะเลเข้ามาทำมาหากินบนแผ่นดินไทยในอดีต ส่วนใหญ่มาจากเมืองแต้จิ๋ว โดยเฉพาะจากอำเภอเถ่งไฮ่ซึ่งตั้งอยู่ริมทะเล การเดินทางข้ามมาเมืองไทยสะดวกกว่า ด้วยเหตุนี้คนจีนในเมืองไทยส่วนใหญ่จึงพูดภาษาแต้จิ๋ว บุคคลที่มีชื่อเสียงหลายคน นับตั้งแต่ ปรีดี พนมยงค์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ รวมถึงคนในตระกูลรัตตกุล ตระกูลหวั่งหลี ตระกูลเจียรวนนท์ ก็ล้วนมีบรรพบุรุษที่อพยพมาจากอำเภอเถ่งไฮ่


สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือที่เรามักเรียกกันว่า พระเจ้าตาก ก็ทรงมีเชื้อสายแต้จิ๋ว พระบิดาของพระองค์เป็นชาวแต้จิ๋ว เกิดในตระกูลแต้ ชื่อนายแต้เจียว อพยพจากอำเภอเถ่งไฮ่ เข้ามาค้าขายในเมืองไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ส่วนพระมารดาเป็นคนไทย ชื่อนางนกเอี้ยง มีอาชีพค้าขาย พระเจ้าตากทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๒๗๗ (หนังสือบางเล่มกล่าวว่าทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน ๒๒๗๗) มีเรื่องเล่าว่าเมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ พระเจ้าตากทรงได้กลับไปศึกษาที่ประเทศจีนระยะหนึ่งด้วย 
บริเวณทางเข้า สุสานพระเจ้าตาก
นายนิ้ม แซ่ตั้ง วัย ๗๙ ปี ชาวจีนซึ่งเกิดในอำเภอเถ่งไฮ่และอพยพมาตั้งรกรากในเมืองไทยเมื่อ ๖๐ ปีก่อน เล่าให้ฟังว่า

“สมัยที่ผมอยู่เมืองจีน คนเถ่งไฮ่รู้จักเมืองไทยดี เพราะเป็นเวลาหลายร้อยปีแล้วที่คนเถ่งไฮ่เดินทางมาค้าขายที่เมืองไทย ที่มาตั้งรกรากอยู่เมืองไทยเลยก็มีมาก ความสัมพันธ์ไทย-จีนนั้นแน่นแฟ้นมาก ถึงกับมีคำไทยที่กลายเป็นภาษาแต้จิ๋ว คือคำว่า ตลาด ชาวแต้จิ๋วเอาไปใช้โดยออกเสียงว่า ‘ตั๊กลัก’ เรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นในเมืองไทย คนจีนที่นั่นก็รับรู้กันโดยตลอด

“คนเถ่งไฮ่รู้จักและรู้เรื่องราวเกี่ยวกับพระเจ้าตากดี เขาเรียกกันว่า
‘แต้อ๊วง’ แปลว่า พระเจ้าแผ่นดินตระกูลแต้ บ้านเกิดของผมก็อยู่ไม่ไกลจากบ้านของท่าน จำได้ว่าตอนเด็กๆ เคยไปเที่ยวบ้านหลังหนึ่งที่เก่าทรุดโทรมมาก เชื่อกันว่าเป็นบ้านเกิดของพระเจ้าตาก ผมยังเคยได้ยินเรื่องเล่าว่าเมื่อ ‘แต้อ๊วง’ เกิด พ่อของท่านก็พาท่านกลับมาเรียนภาษาที่เมืองจีน จนอายุได้ ๑๐ ขวบจึงส่งมาอยู่เมืองไทย”

นายนิ้มกล่าวว่าคนจีนที่อพยพมาอยู่ต่างบ้านต่างเมืองนิยมส่งลูกหลานกลับมาเรียนหนังสือที่บ้านเกิด เพราะต้องการให้ลูกหลานได้เรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมจีน และที่สำคัญคือ เมื่อกลับมาเมืองจีนยังมีครอบครัวและญาติพี่น้องที่ใกล้ชิดคอยดูแล ซึ่งต่างจากเมืองไทยที่อาจต้องใช้ชีวิตตามลำพัง จากการศึกษาประวัติพระบิดาของพระเจ้าตาก ก็พบว่าไม่มีญาติพี่น้องอยู่เมืองไทยมากนัก

บริเวณแหล่งดูดทรายแห่งหนึ่งในอำเภอเถ่งไฮ่ มีฮวงซุ้ยหรือสุสานเล็กๆ แห่งหนึ่ง ทางเข้าทำเป็นซุ้มขนาดใหญ่ สุสานแห่งนี้เป็นสุสานเก่าแก่ สร้างมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าเฉียนหลงฮ่องเต้ (พ.ศ. ๒๒๗๘-๒๓๓๙) มีป้ายหินจารึกไว้ว่า “สุสานของ
 ‘แต้อ๊วง’ ทำการบูรณะซ่อมแซมใหม่ในปี ค.ศ. ๑๙๘๕ ฤดูใบไม้ผลิ”
แผ่นป้ายหินจารึกไว้ว่า"สุสานของ แต้อ๊วงทำการบูรณะซ่อมแซมใหม่ในปี ค.ศ. ๑๙๘๕ ฤดูใบไม้ผลิ"
คนเถ่งไฮ่เชื่อกันว่า หลังจากที่พระเจ้าตากสิ้นพระชนม์ได้ไม่นาน บรรดาญาติพี่น้องได้นำฉลองพระองค์กลับมายังบ้านเกิด และฝังไว้ที่สุสานแห่งนี้เพื่อเป็นการแสดงความเคารพ

“คนเถ่งไฮ่ภูมิใจใน ‘แต้อ๊วง’ มาก ว่าเป็นคนบ้านเราที่มีวาสนาเป็นถึงพระเจ้าแผ่นดินของประเทศไทย และมีความกล้าหาญยิ่ง เสี่ยงชีวิตไปรบกับพม่าเพื่อกอบกู้ชาติไทย”นายนิ้มกล่าว

บริเวณสุสานยังมีป้ายหินอีกแผ่นจารึกไว้ว่า “สุสานแห่งนี้เป็นที่ฝังฉลองพระองค์ของ ‘แต้อ๊วง’ ที่นำมาจากเมืองไทย ห้ามผู้ใดทำลายเด็ดขาด” ลงชื่อโดยรัฐบาลท้องถิ่นแห่งอำเภอเถ่งไฮ่

ปัจจุบัน สุสานแห่งนี้ยังมีผู้นำดอกไม้ธูปเทียนมาแสดงความคารวะอยู่เป็นประจำ โดยเฉพาะจากบรรดาลูกหลานคนจีนจากเมืองไทยที่มีโอกาสไปเยี่ยมญาติในประเทศจีน

 
เรื่องและภาพ : วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์

5 สิงหาคม 2554

เบื้องลึก ‘ตระกูลชินวัตร’ ผู้สร้างนายกรัฐมนตรีไทยถึง 3 คน


วันนี้เป็นวันที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะก้าวขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 28 ของประเทศไทยอย่างเป็นทางการ และเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรก สร้างประวัติศาสตร์
การรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะยังมีความหมายต่อประวัติศาสตร์การเมืองไทยอีกด้วย เพราะจะทำให้ “ตระกูลชินวัตร” กลายเป็นตระกูลนักการเมืองชั้นนำของไทยในทันที ก้าวขึ้นมาเทียบชั้น “นักการเมืองสายราชครู” และ “ตระกูลเวชชาชีวะ” ในฐานะตระกูลนักการเมืองใหญ่ของประเทศ
และถ้าเทียบผลงานหมัดต่อหมัดแล้วอาจจะเหนือกว่าด้วยซ้ำ เพราะ “ตระกูลชินวัตร” สามารถสร้างประวัติศาสตร์สร้างนายกรัฐมนตรีไทยได้ถึง 3 คน คือ ตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร, สมชาย วงศ์สวัสดิ์ ในฐานะเป็นเขยของตระกูล และล่าสุดก็คือ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาวคนสุดท้อง
ถ้าเรามองเพียงผิวเผิน นายกรัฐมนตรีจาก “ตระกูลชินวัตร” โดยเฉพาะนายสมชายและ น.ส. ยิ่งลักษณ์ อาจได้ตำแหน่งมาเพราะ “บุญหล่นทับ” และก้าวขึ้นมาเป็นนายกในฐานะ “นอมินี” และ “โคลนนิ่ง” ของ พ.ต.ท.ทักษิณ เท่านั้น
แต่เมื่อย้อนประวัติของตระกูลชินวัตรให้ลึกกว่านั้น ก็จะพบว่าแท้จริงแล้ว ตระกูลชินวัตรไม่ได้มีเพียงแค่นายกรัฐมนตรีสายตรงของ พ.ต.ท.ทักษิณ แต่ยังมีบุคคลากรที่ประกอบอาชีพข้าราชการ ทหาร ตำรวจ ระดับสูงอยู่ด้วยเช่นกัน มิหนำซ้ำ รากเหง้าของความเป็นนักการเมืองยังฝังตัวมายาวนาน ตั้งแต่รุ่นที่สามที่นำโดย “เลิศ ชินวัตร” บิดาของ พ.ต.ท.ทักษิณแล้ว
พ.ต.ท.ทักษิณ, นายสมชาย (ในฐานะเขยของตระกูล) และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ถือว่าเป็นลูกหลานรุ่นที่สี่ของตระกูลชินวัตร ต้นตระกูล “ชินวัตร” ซึ่งเป็นตระกูลจีนโพ้นทะเลที่มาตั้งรกรากในประเทศไทย
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กับเลิศ ผู้เป็นบิดา (ภาพจากหนังสือ "เผ่าพงศ์วงศาตระกูลชินวัตร")
หมายเหตุ: บทความชิ้นนี้รวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลหลายแหล่ง แต่แหล่งข้อมูลสำคัญมากจากหนังสือ “เผ่าพงศ์วงศาตระกูลชินวัตร” เขียนโดย ธนวัฒน์ ทรัพย์ไพบูลย์ สำนักพิมพ์ Animate Group ISBN 978-616-243-022-0 ทาง SIU ขอแสดงขอบคุณสำหรับข้อมูล ณ ที่นี้

ต้นตระกูลชินวัตร: เส็ง แซ่คู

ต้นตระกูลชินวัตรคือ นายเส็ง แซ่คู (หรือ “คูชุนเส็ง”) เป็นคนจีนแคะ อาศัยอยู่ในมณฑลกวางตุ้ง เดินทางหนีความลำบากในประเทศจีนมายังประเทศไทยเช่นเดียวกับตระกูลคนจีนอื่นๆ ในไทย โดยคาดว่านายเส็งมาถึงเมืองไทยประมาณ พ.ศ. 2403 หรือสมัยรัชกาลที่ห้า
นายเส็งขึ้นฝั่งที่อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี และประกอบอาชีพรับจ้างใช้แรงงานทั่วไป จนสามารถสร้างเนื้อสร้างตัวได้ เขายังมีอาชีพเป็น “นายอากรบ่อนเบี้ย” คอยเก็บภาษีบ่อนพนันและภาษีสุราส่งให้ทางการ เขาแต่งงานกับหญิงไทยชื่อ “ทองดี” และมีบุตรรวมทั้งหมด 9 คน บุตรคนโตมีชื่อว่า “นายเชียง ชินวัตร” เกิดเมื่อ พ.ศ. 2434
นายเส็งย้ายจาก จ.จันทบุรีมาประกอบอาชีพค้าขายอยู่ที่ตลาดน้อย เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร เมื่อ พ.ศ. 2447 อยู่พักหนึ่ง ก่อนจะตัดสินใจย้ายถิ่นฐานไปที่ จ.เชียงใหม่  และลงหลักปักฐานที่ อ. สันกำแพง จ. เชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2453

ชินวัตรรุ่นที่สอง: เชียง ชินวัตร

นายเชียง แซ่คู หรือ เชียง ชินวัตร บุตรชายคนโตของนายเส็ง ถือเป็นแกนหลักที่ช่วยให้ตระกูลชินวัตรตั้งหลักปักฐานได้ที่ จ. เชียงใหม่ เมื่ออายุได้ 20 ปี เขาช่วยบิดาคือนายเชียง ประกอบอาชีพ “นายฮ้อย” หรือการค้าฝูงสัตว์ระหว่างไทยกับพม่า ระหว่างการเดินทางค้าสัตว์ พ่อลูกชินวัตรได้ซื้อผ้าไหมจากพม่ากลับมาขายที่สันกำแพงด้วย ซึ่งภายหลัง “การค้าไหม” กลายเป็นกิจการหลักของตระกูลชินวัตรนั่นเอง
เชียง ชินวัตร และภรรยาแสง ชินวัตร (นั่งกลาง)
ตระกูลชินวัตรค่อยๆ เปลี่ยนจากการค้าสัตว์มาเป็นค้าไหม และขยายกิจการมาทำเกี่ยวกับผ้าไหมแบบครบวงจร ใน พ.ศ. 2481 นายเชียงเปลี่ยนนามสกุลใหม่ จากเดิม “แซ่คู” มาเป็น “ชินวัตร” โดยว่ากันว่าบุตรชายคนโตของนายเชียงคือ “พันเอกพิเศษศักดิ์ ชินวัตร” (บิดาของพลเอกชัยสิทธิ์ ชินวัตร) เป็นผู้นำการเปลี่ยนนามสกุล เนื่องจากรับราชการทหาร และต้องการเปลี่ยนแซ่แบบจีนมาเป็นนามสกุลแบบไทย เพื่อลดแรงต้านคนจีนในขณะนั้น
นายเชียงสมรสกับนางแสง สมณะ มีบุตรรวมทั้งสิ้น 12 คน
  1. นางเข็มทอง ชินวัตร (โอสถาพันธุ์)
  2. พ.อ.(พิเศษ) ศักดิ์ ชินวัตร (บิดาของ พล.อ. ชัยสิทธิ์)
  3. นายบุญสม ชินวัตร
  4. นายเลิศ ชินวัตร (บิดาของ พ.ต.ท. ทักษิณ)
  5. นายสุเจตน์ ชินวัตร
  6. นางสาวจันทร์สม ชินวัตร
  7. นางสมจิตร ชินวัตร (หิรัญพฤกษ์)
  8. นางเถาวัลย์ ชินวัตร (หอมขจร)
  9. นายสุรพันธ์ ชินวัตร
  10. นายบุญรอด ชินวัตร
  11. นางวิไล ชินวัตร (คงประยูร)
  12. นางทองสุข ชินวัตร (โครชาติเย่ร์)
ตระกูลชินวัตรในรุ่นที่สอง เน้นการปักหลักใน จ.เชียงใหม่ และการบุกเบิกกิจการผ้าไหมอย่างจริงจังในเขตภาคเหนือ จากเดิมที่กิจการผ้าไหมเป็นเพียงหัตถรรมพื้นบ้าน ก็ได้ “ชินวัตรไหมไทย” มาแปรรูปให้เป็นอุตสาหกรรมท้องถิ่น

ตระกูลรุ่นที่สาม: เริ่มเข้าสู่การเมือง

ตระกูลชินวัตรรุ่นที่สาม สายของนายเชียง ชินวัตร ได้ขยายกิจการผ้าไหมออกไป โดยภายหลังพี่น้องแต่ละคนได้แบ่งกิจการผ้าไหมแบรนด์ “ชินวัตร” ออกเป็นแบรนด์ย่อยๆ และดำเนินกิจการกันเอง เช่น นางเข็มทอง ชินวัตร บุตรคนโต ได้เปิด “ท.ชินวัตรไหมไทย” ที่กรุงเทพ ส่วนนางสมจิตร บุตรคนที่เจ็ด เปิด “ส.ชินวัตรไหมไทย” ที่เชียงใหม่ เป็นต้น
ตระกูลชินวัตรรุ่นที่สามไม่มีแกนกลางแบบนายเชียงในรุ่นที่สอง พี่น้องแต่ละคนมีกิจการของตัวเอง ทั้งที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวกับผ้าไหม
สิ่งที่น่าสนใจคือ “ชินวัตรรุ่นที่สาม” เริ่มเข้าสู่การเมืองทั้งระดับท้องถิ่นและระดับชาติหลายคน โดยเริ่มจากนายเลิศ ชินวัตร (ชื่อเดิม “บุญเลิศ”) บิดาของ พ.ต.ท. ทักษิณ นั่นเอง
เลิศ ชินวัตร กับ พ.ต.ท. ทักษิณ (ภาพจากหนังสือ "เผ่าพงศ์วงศาตระกูลชินวัตร")
เลิศ ชินวัตร
นายเลิศเป็นบุตรคนที่สี่ของนายเชียง เกิดเมื่อ พ.ศ. 2462 ศึกษาชั้นประถมและมัธยมที่ จ. เชียงใหม่ และเข้าเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่ธรรมศาสตร์ แต่เรียนไม่จบเพราะต้องกลับมาสืบทอดกิจการของครอบครัว เขาเปลี่ยนไปดูแลกิจการรับเหมาก่อสร้างร่วมกับนายสุเจตน์ ชินวัตร (บุตรคนที่ห้า) ช่วงหนึ่ง
พอปี 2495 แยกตัวจากกงสีของตระกูล เปลี่ยนมาขายกาแฟที่ตลาดสันกำแพง โดยนายเลิศเป็นคนโม่กาแฟด้วยตัวเอง นายเลิศได้บุกเบิกรูปแบบธุรกิจใหม่ๆ หลายอย่าง เช่น ซื้อเครื่องโม่กาแฟจากสหรัฐอเมริกา ซื้อเครื่องปั่นมะพร้าวจากกรุงเทพมาทำมะพร้าวบดขายที่สันกำแพง นำเครื่องแช่เย็นมาแช่หวานเย็นขาย
พ.ศ. 2498 นายเลิศหันมาบุกเบิกการทำสวนส้มในอำเภอสันกำแพงเป็นคนแรก ส่วนร้านกาแฟนั้นภรรยารับหน้าที่ดูแลต่อ และเลิกทำไปในภายหลัง จากนั้นนายเลิศไปทำงานเป็นหัวหน้าแผนกสินเชื่อ ของธนาคารนครหลวงไทย สาขาเชียงใหม่ จากคำชักชวนของนายสุเจตน์ที่ตอนนั้นเป็นผู้จัดการธนาคารสาขาเชียงใหม่ โดยทำกิจการด้านเกษตรควบคู่ไปด้วย
ต่อมานายเลิศหันไปทำกิจการโรงภาพยนตร์ “ศรีวิศาล” ซื้อกิจการเดินรถเมล์เหลือง จากนั้นขยายตัว ซื้อกิจการตัวแทนจำหน่ายรถไดฮัทสุ ฮอนด้า บีเอ็มดับเบิลยู และปั๊มน้ำมัน
พ.ศ. 2510 เมื่อนายเลิศอายุ 48 ปี ก็เริ่มเข้าสู่การเมืองท้องถิ่น โดยเป็นสมาชิกสภาจังหวัดเชียงใหม่ เขตสันกำแพง ร่วมกับเจ้าชัยสุริยวงศ์ ณ เชียงใหม่ และนายไกรสีห์ นิมมานเหมินทร์ (บิดาของนายธารินทร์ นิมมานเหมินทร์) ตั้งกลุ่ม “เชียงใหม่ก้าวหน้า” โดยนายเลิศได้เป็นประธานสภาจังหวัดเชียงใหม่อีกตำแหน่งด้วย
นายเลิศก้าวสู่การเมืองระดับชาติในการเลือกตั้ง ส.ส. เมื่อ พ.ศ. 2512 ได้เป็น ส.ส. หน้าใหม่รุ่นเดียวกับนายชวน หลีกภัย และนายอุทัย พิมพ์ใจชน เขาร่วมก่อตั้ง “พรรคอิสระ” โดยมีตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค
นายเลิศรับเลือกตั้ง ส.ส. อีกครั้งในปี 2518 แต่หลังรัฐบาลคึกฤทธิ์ ปราโมช ยุบสภาในปี 2519 เขาก็เลิกเล่นการเมือง และสนับสนุนน้องชายคือนายสุรพันธ์ ชินวัตร (บุตรคนที่เก้า) เป็น ส.ส. แทน ซึ่งเติบโตได้เป็นถึงรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ
ผลงานเด่นของนายเลิศสมัยเป็น ส.ส. คือร่วมร่างกฎหมายตั้งมหาวิทยาลัยรามคำแหง เหมืองฝายแม่ออน และคัดค้านการขึ้นภาษีน้ำมันในสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม
นอกจากนายเลิศ และนายสุรพันธ์ ที่เข้าสู่วงการการเมืองระดับชาติจนได้เป็น ส.ส. แล้ว นายสุเจตน์ บุตรคนที่ห้า ภายหลังยังได้เป็นเทศมนตรีนครเชียงใหม่ด้วยอีกคนหนึ่ง เท่ากับว่าตระกูลชินวัตรรุ่นที่สาม มีคนที่เข้าสู่วงการการเมืองถึงสามคน

ตระกูลรุ่นที่สี่: สู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

ตระกูลชินวัตรรุ่นที่สี่ที่น่าสนใจมี 2 สาย คือ สายของ พ.อ.(พิเศษ) ศักดิ์ ชินวัตร (บุตรคนที่สอง) และสายของนายเลิศ ชินวัตร (บุตรคนที่สี่)
พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร (ภาพจาก Wikipedia)
สายของ พ.อ.(พิเศษ) ศักดิ์
พ.อ.(พิเศษ) ศักดิ์ ชินวัตร มีบุตรทั้งหมด 4 คน โดยคนที่น่าสนใจที่สุดคือ พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร (เกิดเมื่อ พ.ศ. 2488) ซึ่งไต่เต้าขึ้นมาถึงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก และผู้บัญชาการทหารสูงสุด ตอนนี้ พล.อ.ชัยสิทธิ์ ยังมีบทบาทในพรรคเพื่อไทย ถึงแม้จะพ่ายแพ้ในการเลือกตั้ง ส.ส. ราชบุรี เขต 1 ในการเลือกตั้งรอบล่าสุดให้กับผู้สมัครจากพรรคภูมิใจไทย
ครอบครัวสายของ พ.อ.(พิเศษ) ศักดิ์ ล้วนแต่รับราชการทหาร โดยเฉพาะบุตรคนที่สองคือ พล.อ.อุทัย ชินวัตร ก็ขึ้นไปได้จนถึงปลัดกระทรวงกลาโหม
เลิศ ชินวัตร (ซ้ายสุด) กับบุตรสาว โดยมียิ่งลักษณ์ยืนอยู่ตรงกลาง (ภาพจากหนังสือ "เผ่าพงศ์วงศาตระกูลชินวัตร")
สายของนายเลิศ
นายเลิศสมรสกับนางสาวยินดี ระมิงค์วงศ์ มีบุตรรวม 10 คน ซึ่ง พ.ต.ท. ทักษิณ เป็นบุตรคนที่สองและบุตรชายคนโต ส่วน น.ส. ยิ่งลักษณ์ เป็นบุตรคนสุดท้อง
  1. นางเยาวลักษณ์ ชินวัตร (คล่องคำนวณการ)
  2. พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
  3. นางเยาวเรศ ชินวัตร (วงศ์นภาจันทร์)
  4. นางปิยนุช ชินวัตร (ลิ้มพัฒนาชาติ)
  5. นายอุดร ชินวัตร (เสียชีวิตแล้ว)
  6. นางเยาวภา ชินวัตร (วงศ์สวัสดิ์)
  7. นายพายัพ ชินวัตร
  8. นางมณฑาทิพย์ (ชื่อเดิม “เยาวมาลย์”) ชินวัตร (โกวิทเจริญกุล)
  9. นางสาวทัศนีย์ ชินวัตร (เสียชีวิตแล้ว)
  10. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
เราคงไม่ต้องพูดถึงเส้นทางชีวิตของ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่โดดเด่นทั้งในด้านธุรกิจและการเมือง จนได้เป็น “นายกรัฐมนตรี” คนแรกของตระกูลชินวัตร แต่บุตรคนอื่นๆ ของนายเลิศก็มีความสามารถไม่น้อยเช่นกัน โดยเฉพาะในด้านการเมืองที่ “รุ่นที่สี่” สายของนายเลิศเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยหลายคน
นางเยาวลักษณ์ ชินวัตร บุตรคนโต เคยเป็นถึงนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ และเป็นสตรีคนแรกที่ได้ตำแหน่งนี้ เสียชีวิตแล้วเมื่อ พ.ศ. 2552
เยาวเรศ ชินวัตร (ภาพจาก MCOT)

นางเยาวเรศ ชินวัต บุตรคนที่สาม ประกอบกิจการผ้าไหมที่ จ.ภูเก็ต “ชินวัตรภูเก็ต” และพัทยา “ชินวัตรพัทยา” ภายหลังขายกิจการไปและมาทำธุรกิจนำเข้าโทรศัพท์มือถือ ต่อมาขยายไปทำกิจการอสังหาริมทรัพย์และรับเหมาก่อสร้าง มีตำแหน่ง “ประธานสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์” ปัจจุบันดูแลพื้นที่ภาคใต้ของพรรคเพื่อไทย
เยาวภา วงศ์สวัสดิ์ (ภาพจาก Wikipedia)
นางเยาวภา ชินวัตร บุตรคนที่หก ซึ่งคนส่วนใหญ่รู้จักเธอในนาม “เจ๊แดง” แห่ง “กลุ่มวังบัวบาน” จบการศึกษาด้านพยาบาล ทำงานที่สำนักงานสาธารณสุขเชียงใหม่ สมรสกับผู้พิพากษา “สมชาย วงศ์สวัสดิ์” ภายหลังหันมาทำการค้า โดยก่อตั้งบริษัท “เอ็มลิ้งค์ เอเชีย” ทำหน้าที่นำเข้าโทรศัพท์มือถือให้กับกลุ่มชินคอร์ป
สมชาย วงศํสวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีคนที่ 26
นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ สามีของเธอรับราชการมาหลายกระทรวง ขึ้นถึงตำแหน่ง “ปลัดกระทรวงยุติธรรม” และ “ปลัดกระทรวงแรงงาน” ก่อนจะบุญหล่นทับเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 26 ของประเทศไทย ถึงแม้จะทำหน้าที่เป็นช่วงเวลาสั้นๆ และไม่ได้เข้าทำงานในทำเนียบรัฐบาลเลยก็ตาม
ทั้งนายสมชายและนางเยาวภา ถูกตัดสิทธิ์การเมือง 5 ปีจากคดียุบพรรคพลังประชาชน อย่างไรก็ตาม นางเยาวภายังมีบทบาทดูแลพรรคเพื่อไทย โดยคุมพื้นที่ภาคเหนือ บุตรสาวคนหนึ่งของทั้งคู่คือ ชินณิชา วงศ์สวัสดิ์ ปัจจุบันเป็น ส.ส. เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ถือเป็นการเริ่มต้นทางการเมืองของ “รุ่นที่ห้า”
พายัพ ชินวัตร (ภาพจาก Wikipedia)
นายพายัพ ชินวัตร บุตรคนที่เจ็ด ทำงานในบริษัทชินวัตรไหมไทย แต่ไม่ประสบความสำเร็จทางธุรกิจ ภายหลังผันตัวมาเป็นนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ และถูกโจมตีว่า “ปั่นหุ้น” เข้าสู่การเมืองโดยเป็น ส.ส. เชียงใหม่ พรรคไทยรักไทยในการเลือกตั้ง 2548 ปัจจุบันมีตำแหน่งคุมทัพภาคอีสานของพรรคเพื่อไทย มีบุตรชาย 4 คน
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร บุตรคนที่สิบ ทำงานในเครือชินคอร์ป และเอสซีแอสเสท ก่อนจะเข้าสู่การเมืองและเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย

ตระกูลดามาพงศ์: สายสัมพันธ์ที่ไม่อาจมองข้าม

ตระกูลชินวัตรนั้น “เกี่ยวดอง” กับตระกูลดามาพงศ์ ผ่านการสมรสของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และคุณหญิงพจมาน ดามาพงศ์ (ปัจจุบันใช้นามสกุล ณ ป้อมเพชร ของมารดา)
ครอบครัว “ดามาพงศ์” ของคุณหญิงพจมาน เป็นครอบครัวตำรวจ โดยบิดาคือ พล.ต.ท.เสมอ ดามาพงศ์ (อดีตผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ) และมารดา นางพจนีย์ ณ ป้อมเพชร
ครอบครัวของ พล.ต.ท. เสมอ มีบุตรทั้งหมด 5 คน โดยบุตรแท้ๆ 4 คน และบุตรบุญธรรมหนึ่งคน
  1. นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ (บุตรบุญธรรม)
  2. นายพงศ์เพชร ดามาพงศ์
  3. พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์
  4. พล.ต.ต.นพ.พีระพงศ์ ดามาพงศ์
  5. คุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร
ห้าพี่น้องตระกูลดามาพงศ์ ไม่เลือกรับราชการตำรวจ ก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเมืองและธุรกิจกลุ่มชิน ที่มาจากการสมรสของคุณหญิงพจมาน
บรรณพจน์ ดามาพงศ์ (ภาพจาก Wikipedia)
บุษบา ดามาพงศ์ (ภาพจาก SCAsset)
นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ บุตรบุญธรรมคนโต เป็นคนใกล้ชิดของคุณหญิงพจมาน มีเอี่ยวในคดีซุกหุ้นชินคอร์ปช่วงก่อน พ.ต.ท.ทักษิณ ชนะเลือกตั้ง ภรรยาของนายบรรณพจน์คือ “บุษบา ดามาพงศ์” เป็นคนสนิทของคุณหญิง และเคยบริหารบริษัทเอสซีแอสเสท ธุรกิจของครอบครัวมาช่วงเวลาหนึ่ง ล่าสุดบุษบากลับมาเป็นซีอีโอของเอสซีแอสเสทอีกครั้ง แทน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ที่ลาออกไปเล่นการเมือง
นายพงศ์เพชร ดามาพงศ์ เคยยุ่งเกี่ยวกับการเมืองระดับชาติ โดยเป็นอดีตผู้อำนวยการการเลือกตั้งพรรคไทยรักไทย จังหวัดเชียงราย
เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ (ภาพจาก Wikipedia)
พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ถ้าไม่นับคุณหญิงพจมานที่โดดเด่นในฐานะคู่สมรสของนายกรัฐมนตรี และ “ผู้มีบารมีตัวจริง” ของพรรคไทยรักไทย ผู้ที่โดดเด่นที่สุดในกลุ่มพี่น้องตระกูลดามาพงศ์ก็คือ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์  รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อย่างไรก็ตาม พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ก็เคยถูกวิจารณ์ว่าได้เลื่อนขั้นอย่างรวดเร็วในสมัยรัฐบาลทักษิณ ด้วยเหตุผลว่าเป็นเครือญาติด้านภรรยา
เพ็ญโสม ดามาพงศ์ (ภาพจาก SCAsset)
ภรรยาของ พล.ต.เพรียวพันธ์ คือนางเพ็ญโสม ดามาพงศ์ ยังเป็นหนึ่งในคณะกรรมการของบริษัทเอสซีแอสเสทด้วย
พล.ต.ต.นพ.พีระพงศ์ ดามาพงศ์ อดีตผู้บัญชาการสำนักงานนิติวิทยาศาสตร์ตำรวจ

สรุปบทเรียน “ตระกูลชินวัตร” กับการสร้างนายกรัฐมนตรี 3 คน

หลังจากย้อนรอยสายตระกูลชินวัตรแล้ว เราสามารถสรุปบทเรียนเบื้องหลัง “ความยิ่งใหญ่” ของตระกูลชินวัตรได้หลายประเด็น ดังนี้
  1. มีบุตรหลานและผู้สืบทอดเป็นจำนวนมาก จากต้นตระกูลคือนายเส็ง แซ่คู ที่มายังประเทศไทยเพียงลำพังคนเดียว จนถึงชินวัตรรุ่นที่ห้า ที่แยกสาแหรกไปมากมายนับเป็นหลักร้อยคน รุ่นที่หนึ่งนายเส็งเองมีบุตร 9 คน รุ่นที่สองนายเชียงมีบุตร 12 คน และรุ่นที่สามนายเลิศมีบุตร 10 คน การมีบุตรมากๆ ช่วยสร้างทรัพยากรบุคคลให้กับตระกูลในช่วงสร้างตัว ดังที่ตระกูลจีนอื่นๆ ในไทยได้ประสบความสำเร็จมาแล้ว เช่น ตระกูลจิราธิวัฒน์ หรือตระกูลเจียรวนนท์
  2. มีกิจการที่สร้างความมั่งคั่งให้กับตระกูล ในที่นี้คือ “ธุรกิจผ้าไหม” ที่สร้างความมั่งคั่งสะสมให้กับตระกูลชินวัตรตั้งแต่รุ่นที่สอง เฉกเช่นเดียวกับตระกูลจีนอื่นๆ ในไทยที่สะสมความมั่งคั่งในรุ่นแรกๆ จากการค้า (จิราธิวัฒน์ เจียรวนนท์) การเงิน (ล่ำซำ โสภณพนิช หวั่งหลี) จนมีอิทธิพลและเข้าสู่วงการการเมืองได้ในรุ่นถัดๆ มา
  3. มีสายงานอาชีพที่หลากหลาย ถึงแม้ตระกูลชินวัตรจะมีรากเหง้ามาจากการค้าไหม แต่ลูกหลานของตระกูล (รวมถึงตระกูลที่ดองกันจากการสมรส) ก็หันไปประกอบวิชาชีพอื่นๆ และได้ดิบได้ดีในสายอาชีพนั้นๆ ทำให้ยุคที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ขึ้นมาครองอำนาจ มีคนตระกูลชินวัตรทำงานในตำแหน่งระดับสูงมากมาย สามารถขับเคลื่อนและผลักดันวาระของตระกูลได้ง่ายขึ้น เช่น พล.อ.ชัยสิทธิ์ (สายทหาร) นายสมชาย (สายงานยุติธรรม) พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ (ตำรวจ)
  4. การส่งมอบประสบการณ์ทางการเมือง ตระกูลชินวัตรนั้นเป็นเฉกเช่นเดียวกับตระกูลการเมืองอื่นๆ ของโลก นั่นคือ รุ่นแรกที่เข้าสู่การเมืองยังไม่ประสบความสำเร็จมากนัก แต่มีกระบวนการสรุปบทเรียนและถ่ายทอดประสบการณ์ทางการเมืองไปยังรุ่นถัดๆ ไป เพื่อลดขั้นตอนในการเรียนรู้และก้าวสู่ตำแหน่งสำคัญ จะเห็นว่านายเลิศ ชินวัตร ถ่ายทอดประสบการณ์ให้น้องชายจนได้ขึ้นถึงตำแหน่ง รมช. และสมัยที่นายเลิศเป็น ส.ส. ก็ดึงตัว พ.ต.ท.ทักษิณ และบุตรคนอื่นๆ ไปช่วยงานหลายอย่าง จนเป็นประสบการด้านการเมืองให้กับลูกหลานรุ่นถัดมา
ตระกูลทางการเมืองตระกูลสำคัญของโลก เช่น ตระกูลเคเนดี้ของสหรัฐ หรือตระกูลเนห์รู-คานธีของอินเดีย ต่างก็มีประวัติศาสตร์ใกล้เคียงกัน นั่นคือ ต้นตระกูลรุ่นแรกๆ ผู้มี “ความทะเยอทะยานทางการเมือง” จะยังไม่ประสบความสำเร็จในถนนการเมือง แต่คนรุ่นถัดมาจะก้าวบนเส้นทางนั้นและผงาดขึ้นมาเป็นผู้นำประเทศ ก่อนจะสร้างฐานอำนาจและส่งต่อให้คนรุ่นถัดไป ตัวอย่างคือ ประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคเนดี้ ถูกผลักดันให้เล่นการเมืองโดยบิดาผู้เป็นนักธุรกิจ และนายกรัฐมนตรีคนแรกของอินเดีย ชวาหระลาล เนห์รู ก็เป็นบุตรของนักการเมืองคนสำคัญที่สร้างพรรคคองเกรสของอินเดีย
เส้นทางของตระกูลชินวัตรในตอนนี้ต้องบอกว่า “ย้อนกลับไปไม่ได้แล้ว” หลังส่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก้าวขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของตระกูล ซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ก็พยายามสร้างฐานอำนาจทางการเมืองของตัวเองในระยะยาว ถึงแม้จะเผชิญกับการต่อต้านอย่างหนัก แต่ก็ยังสามารถส่ง “น้องเขย” สมชาย วงศ์สวัสดิ์ และ “น้องสาว” ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีได้อีก 2 ครั้ง
น่าจับตามองว่า ในระยะยาวอีก 20-30 ปีข้างหน้า ตระกูลชินวัตรจะส่งต่ออำนาจทางการเมืองได้นานแค่ไหน และในเวลานั้นเราจะได้เห็น “ชินวัตรรุ่นที่ห้า” ขึ้นมารับบทบาทในการเมืองระดับชาติ อย่างที่ “ชวาหระลาล-อินทิรา-ราจิฟ” สร้างประวัติศาสตร์เป็นนายกอินเดีย 3 รุ่นตั้งแต่ตายันหลาน ได้หรือไม่

สายตระกูลชินวัตรที่เกี่ยวข้องกับการเมือง

สายตระกูลชินวัตร สีส้มคือเกี่ยวข้องกับการเมือง สีแดงคือนายกรัฐมนตรี


ภาพประวัติศาสตร์ตระกูลชินวัตร

ภาพประวัติศาสตร์ของตระกูลชินวัตร ในงานแต่งงานของยิ่งลักษณ์-อนุสรณ์ อมรฉัตร (ภาพจากหนังสือ “เผ่าพงศ์วงศาตระกูลชินวัตร”) โดยรวบรวมสมาชิกคนสำคัญของตระกูลสายนายเลิศ ชินวัตร ไว้หลายคน
  1. เลิศ ชินวัตร
  2. ทักษิณ ชินวัตร
  3. พจมาน ชินวัตร
  4. เยาวเรศ ชินวัตร
  5. เยาวภา (ชินวัตร) วงศ์สวัสดิ์
  6. สมชาย วงศ์สวัสดิ์
  7. พายัพ ชินวัตร
  8. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
  9. อนุสรณ์ อมรฉัตร
  10. พานทองแท้ ชินวัตร
  11. พิณทองธา ชินวัตร
  12. (คาดว่า) แพทองธาร ชินวัตร